ใช้ชีวิตให้คุ้มค่า ต่อกาลเวลาที่เสียไป


ภาพอดีต:
     พระเขมธัมโม
     พระมหาสมโภช ธัมมโภชโช

ภาพปัจจุบัน:
     พระภาวนาวิเทศ
     พระชลญาณมุนี ดร.

     วันคืนล่วงไปๆ สรรพสิ่งและสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

     ชีวิตของเราก็เช่นกัน มีการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา
เปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อม แลวนำไปสู่ความตาย

     เวลานี้มีจำกัด ควรใช้เวลาที่มีจำกัดนี้
ให้เกิดประโยชน์แก่ตน และเพื่อนร่วมโลกให้มากที่สุด
เพื่อยังสันติสุขให้เกิดขึ้นแก่มวลมนุษยชาติ ควรต้อง
ใช้ชีวิตให้คุ้มค่าต่อกาลเวลาที่สูญเสียไป……!

ใจผู้ให้ยิ่งใหญ่เสมอ


     ความทุกข์คนเรานั้นไม่เท่ากัน เมื่อยามที่ทุกข์มา
ก็ขอให้ระลึกว่า เรายังโชคดีกว่าคนอื่นมากมาย เรายังมี
อาหารกิน เรายังมีบ้านนอน บางคนอาหารที่จะกิน บ้าน
ที่จะนอนยังไม่มี ให้มองคนที่แย่กว่าเรา อย่ามองคน
ที่เหนือกว่าเราอย่างเดียว

     แต่เมื่อมีความสุขแล้ว ก็ให้มองคนที่แย่กว่าเรา ว่าเรา
โชคดีกว่าเขา มีอะไรแบ่งปันกันได้ก็แบ่งปันกันไปตามกำลัง
ที่จะทำได้ “ใจผู้ให้ยิ่งใหญ่เสมอ” อย่างน้อยๆก็ให้ “ความ
เมตตา,ให้รอยยิ้ม,ให้อภัยกัน” ชีวิตจะตายวันตายพรุ่ง
ก็ไม่รู้ อย่าไปแบกทุกข์ไว้ให้หนัก…!

ประโยชน์ที่แท้จริง คือปัจจุบัน

ชีวิตเรามีค่า…ก็ตอนที่ชีวิตยังมีลมหายใจ…..!

ถ้าวันไหน ลมหายใจดับลงถึงเวลาต้องดับสูญลงไป
ร่างกายก็เหมือนท่อนไม้ ไม่มีความรู้สึกอะไร ระลึก
อะไรก็ไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ได้…!

ฉะนั้น ถ้าจะทำอะไรทั้งประโยชน์ตน และประโยชน์
ผู้อื่นให้สำเร็จ ก็ต้องทำ ณ เวลานี้

ไม่มีคำว่า “พรุ่งนี้” เพราะพรุ่งนี้ ไม่เคยมาถึง…
สำหรับคนที่รอคอย…..!

ความ “ดีขึ้น” ไม่ได้อยู่ที่การเปลี่ยนชื่อ


มีผู้หนึ่งมาขอความกรุณาช่วยเปลี่ยนชื่อให้ใหม่ โดยมี
เหตุผลว่า “เขา” แนะนำให้เปลี่ยน, “เขา” ว่าเปลี่ยนแล้ว
ชีวิตจะดีขึ้น..!
– “เขา” ที่ว่านั้นส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายๆกัน คือ “ตั้งอยู่
บนหัวของสัตว์เดรัจฉานบางชนิด” ใช่ป่ะ นี่ก็แสดงว่าไปเอา
“เขา” มาใส่หัวตนเองเข้าแล้ว เอา “เขา” มาเป็นสิ่งชี้นำชีวิต
เข้าล่ะ แล้วจะเป็นสิ่งที่เป็นมงคลมั้ยนิ..?

– ลองคิดดูว่า ถ้าคนเปลี่ยนชื่อแล้ว “ดีขึ้น” จริง ป่านนี้ทั่ว
ประเทศคงมีคนไทยกว่า ๙๐% ที่จะต้องพากันไปเปลี่ยนชื่อ
ตนเองแล้ว เพราะคนจำนวนนี้คือคนจนของประเทศ สมมุติ
ว่าขอทานคนหนึ่ง อยากเป็นเศรษฐี เขาเปลี่ยนชื่อเป็นนาย
“ยอดรวย” เขานั่งนอนอยู่กับบ้านไม่ออกไปขอทานเลย
เขาจะรวยขึ้นได้ไหม…?

และสมมุติว่านาย “ยอดจน” เป็นขอทาน แต่เขาเปลี่ยน
อาชีพ ไปเป็นคนรับจ้างทำงาน ตอนแรกเป็นคนทำความ
สะอาด ทำไปได้ระยะหนึ่งเขาอาจคิดได้ว่า บริษัททั้งหลาย
ต้องการคนทำความสะอาด เขาจึงตั้งกิจการรับบริการทำ
ความสะอาด ในที่สุด เขาก็จะสามารถเป็นคนรวยได้

สรุป ความ “ดีขึ้น” ไม่ได้อยู่ที่การเปลี่ยนชื่อของคน แต่
อยู่ที่พฤติกรรม อยู่ที่การกระทำ (กรรม) ศาสนาพุทธ
ไม่สอนให้คนโง่หรือหลง แต่สอนให้มี “ปัญญา”

คำเตือน : อย่าคบค้ากับ “เขา” อีก เพราะ “เขา” ที่ว่ามานั้น
มิใช่กัลยาณมิตรนะ..จะบอกให้..!