รางวัลชีวิตสำหรับตนเองคืออะไร

ถาม : #รางวัลชีวิตสำหรับตนเองคืออะไร

ตอบ : #คือการทำงานที่มีประโยชน์แล้วมีความสุข การทำอะไรด้วยแรงกาย แรงใจ และความตั้งใจ รวมถึงการทำให้คนรอบข้างมีความสุข สิ่งเหล่านี้จะติดตัวตลอดไป จะทำให้เกิดความประทับใจและมีความสุขทุกครั้งที่นึกถึง นี่ต่างหากล่ะคือ #รางวัลชีวิตที่มีคุณค่า และจะเป็น #รางวัลที่มีค่ามากกว่ารางวัลที่จะต้องรอคอยให้ผู้อื่นมอบให้ หรือการใช้เงินซื้อหามาก็เป็นได้

ฉะนั้น #จงทำงานให้สนุกและมีความสุขกับงานที่ทำตลอดเวลา นั่นคือ “รางวัลชีวิต” ที่แท้จริง…!

อย่าทำตนเป็นน้ำล้นถ้วย

เมื่อเป็นเด็กต้องมีวิชาความรู้
เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ต้องมีประสบการณ์

คือ เรียนรู้ประสบการณ์ของผู้อื่น
และ หาประสบการณ์ให้กับตนเอง

อย่าทำตนเป็น #น้ำล้นถ้วย

ชีวิตจึงจะเจริญก้าวหน้าอย่างมีคุณภาพ (#ในหมู่คนดีเท่านั้น)…!

ใช้ปัญญา ค่อยๆพิจารณายอมรับความจริงอย่างสงบ แล้วจะพบทางออกได้ไม่ยาก

จำไว้…แม้ชีวิตจะผิดหวังล้มเหลวอะไรก็ตาม ก็ไม่จำต้องร้องไห้ และไม่ต้องบ่นเพ้ออะไรให้ใครฟัง เพราะจะทำให้คนที่รักเรายิ่งเจ็บปวดไม่สบายใจ ส่วนคนที่เกลียดที่ไม่ชอบหน้าเราก็จะยิ่งหัวเราะเยอะอย่างสะใจ

จงตั้ง “สติ” หายใจเข้า-ออกลึกๆยาวๆ ใช้ปัญญา ค่อยๆพิจารณายอมรับความจริงอย่างสงบ แล้วจะพบทางออกได้ไม่ยาก และคนที่รักเรา หรือคนที่เรารักก็จะมีความสุขด้วย..!

ทักษะการอ่านเขียนคือพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ด้านอื่นๆ

สามเณรน้อยๆ ที่เข้ามาบรรพชาที่วัดอุทกเขปสีมาราม เบื้องต้นส่วนมากจะมีปัญหาเกี่ยวกับการอ่านหนังสือไม่ออก อ่านหนังสือไม่แตก อ่านแบบไม่เข้าใจความหมาย อ่านแบบขอไปที

ทั้งนี้จึงจำต้องใช้ทั้งพระเดชพระคุณควบคู่กันที่เดียวสำหรับแก้ปัญหา (พระเดช-ทำให้เกรงกลัว,พระคุณ-ทำให้สำนึก,อุ่นใจ)

#ถือเป็นภาระที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน สำหรับการอ่านไม่ออกเขียนสะกดคำไม่ได้นี้ ซึ่งได้วางวิธีการโดยปรับตามลำดับขั้น ดังนี้

ขั้นที่ ๑ ฝึกอ่านทุกวัน โดยการหลังปฏิบัติธรรมและทำวัตรเช้า (๐๔.๐๐-๐๖.๐๐ น.) ให้สลับกันฝึกการอ่าน โดยใช้หนังสือธรรมบ้าง วินัยบ้าง ฯลฯ

ขั้นที่ ๒ ฝึกการเขียนควบคู่กับการอ่านโดยใช้อักษรไทย เลขไทย คำ ประโยค ที่ได้จากประสบการณ์ต่างๆ เช่น การจดบันทึกประจำวัน การจดบันทึกการเดินทาง ฯลฯ

ขั้นที่ ๓ การฝึกคัดลายมือ นอกจากทำให้ลายมือสวยงามแล้วยังเป็นการช่วยในการจดจำรูปคำต่างๆ ได้มากขึ้น

ขั้นที่ ๔ การวาดรูป ประกอบคำ ด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสนุกไปกับงาน โดยมีการจำแนกคำออกมาเพื่อให้สามเณรเข้าใจการผสมคำมากขึ้น

ขั้นที่ ๕ การนำคำมาแต่งเป็นประโยคสื่อสารรูปหรือเหตุการณ์จริง เช่น การเขียนเรียงความ (แต่งกระทู้ธรรม)

ขั้นที่ ๖ การเขียนคำตามภาพวาดโดยให้สามเณรมีอิสระตามความคิดของตนเอง

#โดยกระบวนการ ๖ ขั้นตอนดังกล่าว กำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบตามลำดับ คาดว่าจะช่วยให้สามเณร สามารถอ่านออกเขียนได้ และเกิดแรงบันดาลใจในการเรียน เมื่อประสบผลสำเร็จสามเณรจะรู้สึกภูมิใจในตัวเองมีความมั่นใจว่าตนเองว่า สามารถเรียนรู้พัฒนาตนได้ ซึ่งวิธีการนี้ เท่าที่ผ่านมาสามารถวัดผลประเมินผลความก้าวหน้าได้อย่างชัดเจนเป็นลำดับ….!

อย่าเสียดาย ชีวิตที่ผ่านมา

อย่าเสียดาย ชีวิตที่ผ่านมา
จงมองไปข้างหน้าว่าเราจะทำอะไร
กับเวลาที่เหลืออยู่อันน้อยนิด
ทิ้งอดีตไว้ข้างหลังเพื่อเป็นบทเรียน

ก้าวเดินหน้าต่อไป
ด้วยความมั่นใจและมีความสุข…!